วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประกาศ เรื่องข้อผิดพลาดในหนังสือรอยประทับ

โปรดส่งคืนหนังสือรอยประทับ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ อันเป็นเล่มใหม่

ตามที่สำนักพิมพ์ผีเสื้อได้จัดงานแนะนำหนังสือ รอยประทับ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๒
ปรากฏว่าหนังสือที่จัดพิมพ์ครั้งนี้ ทำแม่พิมพ์จากไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ ยังมีคำผิดบกพร่อง

จึงขอประกาศมายังผู้ที่ได้ซื้อหนังสือเล่มดังกล่าวในงานแนะนำหนังสือ โปรดส่งคืน เพื่อรับหนังสือใหม่

สำนักพิมพ์ผีเสื้อจะไม่วางหนังสือเล่มดังกล่าวในท้องตลาด แต่จะเก็บคืนเพื่อทำลายต่อไป

สำนักพิมพ์ผีเสื้อขออภัย และจะรีบจัดพิมพ์ฉบับถูกต้องสมบูรณ์โดยเร็ว

ผู้อ่านที่ซื้อหนังสือเล่มผิดพลาดไป จะได้รับเล่มใหม่ส่งให้ที่บ้าน

ขออภัยและขอขอบคุณ

สำนักพิมพ์ผีเสื้อ
๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

โครงการอบรม ‘บรรณาธิการต้นฉบับวรรณกรรมแปล’ ครั้งที่ 7

โครงการอบรม ‘การแปลและตรวจแก้ต้นฉบับ’
(‘บรรณาธิการต้นฉบับวรรณกรรมแปล’ ครั้งที่ 7)
จัดโดยศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระหว่าง วันที่ 31 ตุลาคม 2552 – 23 มกราคม 2553


1. หลักการและเหตุผล
ศาสตร์ว่าด้วยงานบรรณาธิการต้นฉบับวรรณกรรมแปล เปิดอบรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทยแก่บุคคลทั่วไป เมื่อเดือนมิถุนายน - สิงหาคม พ.ศ. 2541 โดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีวิทยากรที่เป็นทั้งอาจารย์และนักแปล และได้รับความร่วมมือจากบรรณาธิการสำนักพิมพ์ผีเสื้อผู้มีประสบการณ์ในการตรวจแก้ต้นฉบับวรรณกรรมแปล การอบรมดังกล่าวมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก และได้สร้างบรรณาธิการต้นฉบับแปลที่มีคุณภาพในวงการวรรณกรรมแปล จึงสมควรเปิดการอบรมขึ้นอีกครั้ง เพื่อเป็นบริการทางวิชาการแก่สังคมและเพื่อประโยชน์ในด้านวิชาการแปล การอบรมครั้งนี้นับเป็นรุ่นที่ 7

2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อผลิตบรรณาธิการต้นฉบับวรรณกรรมแปล
2. เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะด้านการตรวจแก้ต้นฉบับ
3. เพื่อสร้างสำนึกในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

3. หัวข้อการอบรม : อบรมการแปลและตรวจแก้ต้นฉบับ
หัวข้อย่อย :
1. การตรวจสอบการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย
2. การตรวจแก้ภาษาไทยในฉบับแปลให้เป็นภาษาไทยที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับระดับภาษาในภาษาต้นฉบับ
3. คุณสมบัติเฉพาะและมาตรฐานของบรรณาธิการต้นฉบับแปล
4. ความสำคัญของการพิมพ์หนังสือแปลโดยมีบรรณาธิการต้นฉบับ (เปรียบเทียบกับการพิมพ์โดยไม่มีบรรณาธิการต้นฉบับ)

4. วิธีจัดการอบรม
บรรยาย ศึกษาตัวอย่างการตรวจแก้ต้นฉบับที่ได้ตรวจแก้จริง และฝึกปฏิบัติตามทฤษฎีใหม่
ผู้บรรยาย :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปณิธิ หุ่นแสวง
รองศาสตราจารย์ ดร.สถาพร ทิพยศักดิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
อาจารย์มกุฏ อรฤดี

5. ระยะเวลาในการอบรม
วันที่ 31 ตุลาคม 2552 – 23 มกราคม 2553
ทุกวันเสาร์ เวลา 13.00 – 18.00 น. รวมทั้งสิ้น 50 ชั่วโมง

6. สถานที่อบรม
ห้อง 708 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

7. ค่าธรรมเนียมการอบรม
ค่าธรรมเนียมการอบรมและค่าเอกสารคนละ 5,900 บาท
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการอบรม เว้นแต่จะไม่อาจเปิดอบรมได้

8. คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
ผู้สมัครควรเป็นผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับงานแปล หรือบรรณาธิการต้นฉบับ ประสงค์จะทำงานด้านการแปลหรือในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น บรรณาธิการต้นฉบับแปล นักแปล ผู้สื่อข่าววรรณกรรม อาจารย์
ผู้สมัครต้องเขียนเรียงความชี้แจงเจตนารมณ์ของการเข้าอบรมในหลักสูตรนี้ด้วยลายมือของตนเอง ความยาวประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4 และกรอกใบสมัครให้ครบถ้วนตามปรากฏในเว็บไซต์ www.AksornChula.com
ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมจะต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการโครงการ โดยพิจารณาจากใบสมัครและเรียงความ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการอบรม รับเพียง 30 คนเท่านั้น
คำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

9. กำหนดการรับสมัคร
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 15 ตุลาคม 2552
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริการวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ด้วยวิธีดังนี้
1. เว็บไซต์ www.AksornChula.com
2. email : AksornChula@hotmail.com
3. หมายเลขโทรศัพท์ 087-3244991 , 02-2184640

10. วิธีการสมัคร - ส่งหลักฐานการสมัครทั้งหมด (ตามข้อ 8) ไปตามที่อยู่ในล้อมกรอบนี้ ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2552 (ดูวันที่ในตราประทับไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ)



- ประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเข้าอบรมทาง www.AksornChula.com ในวันที่ 20 ตุลาคม 2552
- เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมจะต้องชำระเงินค่าธรรมเนียมการอบรม ภายในวันที่ 27 ตุลาคม 2552 โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เลขที่บัญชี 152-4-218367 จากนั้นส่งหลักฐานการโอนเงินไปที่ศูนย์บริการบริการวิชาการตามวิธีต่อไปนี้
1. สแกนหลักฐานการโอนเงิน แล้วส่ง e-mail มาที่ AksornChula@hotmail.com หรือ
2. แฟกซ์มาที่หมายเลข 02-218-4640 (หากเป็นไปได้ กรุณาส่งนอกเวลาทำการ เนื่องจากในช่วงเวลารับสมัครโทรศัพท์มักไม่ว่าง) และกรุณาโทรศัพท์ยืนยันการรับสมัครจากเจ้าหน้าที่ในวันรุ่งขึ้นที่เบอร์เดียวกัน
- หากไม่ชำระค่าธรรมเนียมในเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์และจะเรียกผู้ติดสำรองทันที

11. การประเมินผล
ผู้ที่เข้ารับการอบรมเกินกว่าร้อยละ 80 จะได้รับหนังสือสำคัญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สร้างบรรณาธิการต้นฉบับวรรณกรรมแปล
2. สร้างนักแปลที่ตรวจแก้ต้นฉบับงานแปลของตนได้ถูกต้อง
3. ปลูกจิตสำนึกผู้เข้ารับการอบรมให้ใส่ใจใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง

13. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย /.

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข่าวด่วนจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

5 สค. 2552 15:13 น.


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า
ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
เสนอประกาศให้ปี 2552 ถึง 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านของประเทศ
พร้อมประกาศให้วันที่ 2 เม.ย.ของทุกปี
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นวันรักการอ่าน
อีกทั้งกำหนดให้เรื่องการส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ
โดยให้คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตซึ่งมีรมว.ศธ.เป็นประธาน
เป็นหลักในการขับเคลื่อนเรื่องนี้

"การรณรงค์ส่งเสริมการอ่านครั้งใหญ่นี้ ต้องการให้คนไทยทุกวัยพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือ
โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2555 ประชากรวัยแรงงานจะต้องรู้หนังสือในระดับใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน
เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็น ร้อยละ 99
ขณะที่ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปที่สามารถอ่านออกเขียนได้จะต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 92.64 เป็น ร้อยละ 95
ค่าเฉลี่ยในการอ่านหนังสือของคนไทยต้องเพิ่มจากปีละ 5 เล่ม เป็น 10 เล่ม
รวมทั้งต้องมีการพัฒนาและเพิ่มแหล่งการอ่านที่มีคุณภาพให้ทั่วถึงทุกตำบล/ชุมชน
สร้างภาคีเครือข่ายการอ่านเพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน" รมว.ศธ. กล่าว

คณะกรรมการส่งเสริมการอ่านฯที่มี รมว.ศธ.เป็นประธานนั้น จะเร่งประชุมในเร็ว ๆ นี้
เพื่อกำหนดกิจกรรม ยุทธศาสตร์สำหรับเพิ่มขีดความสามารถในการอ่านและสร้างนิสัยให้คนไทยทุกวัยอ่านหนังสือเพิ่มชึ้น
รวมทั้งสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้น
โดยประกาศชัดเจนว่า ในแต่ละปีจะมีการจัดกิจกรรมใดบ้าง
และจะพยายามดึงองค์กรอื่น ๆ มาร่วมเป็นกรรมการส่งเสริมการอ่านฯเพิ่มขึ้น


ที่มา : ข่าวด่วน / เนชั่นทันข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เทศกาลหนังสือของนักอ่าน เริ่มแล้ว ๑๙ - ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๒

ณ สวนเงินมีมา สำนักงานมูลนิธิเสฐียรโกเศศ

ร่วมแลก แจก ซื้อ ขาย หนังสือมือสองจากเจ้าของหนังสือเอง และพบกิจกรรมเสวนาดีๆ ดนตรี ละคร งานอาสาสมัคร และกิจกรรมเพื่อการเติบโตทางใจ (ปัญจลีลา)
เทศกาลหนังสือของนักอ่าน ไม่ใช่เพียงพื้นที่ของการซื้อขาย แต่ยังเป็นการสร้างระบบตลาดหนังสือขึ้นมาเองของคนธรรมดาที่ไม่ใช่เจ้าของธุรกิจหนังสือ
เป็นพื้นที่ให้นักอ่านได้พูดคุยแนะนำกันอย่างไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิจารณ์อาชีพ นอกจากได้ระบายหนังสือที่สะสมไว้ ยังเป็นการร่วมสร้างเรื่องราวใหม่
และความสัมพันธ์ใหม่ๆระหว่างมนุษย์ผ่านถ้อยอักษร ร่วมจัดโดยมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป ร้านของเรา กลุ่ม we change

กำหนดการ

๑๙ มิ.ย.๕๒
---๑๒.๐๐ น. เปิดร้านหนังสือ
---๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. เสวนา “เปิดโลกอักษรจากมุมมองนักอ่าน”
ไอดา อรุณวงศ์ บรรณาธิการวารสารอ่าน
กฤช เหลือลมัย กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณและกวีอิสระ
อินทิรา เจริญปุระ นักแสดง คอลัมนิสต์ นักอ่าน นักเขียน
ศรัณย์ ทองปาน ดำเนินรายการ
---๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ดนตรีสบายยามเย็นจากวง “ไข่เจียว”

๒๐ มิ.ย.๒๕๕๒ ---๑๒.๐๐ น. เปิดร้านหนังสือ
---๑๔.๐๐-๑๖.๐๐ น. เสวนา “อำนาจนักอ่าน : หรือเป็นเพียงอุดมคติของนักฝัน ?”
มกุฎ อรฤดี บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนวิชาหนังสือ
สฤณี อาชวานันทกุล บรรณาธิการ onopen.com นักอ่าน นักเขียน คอลัมนิสต์
กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สถาบันต้นกล้า กลุ่ม we change หนึ่งในผู้ร่วมจัดงาน
ทวีศักดิ์ พึงลำภู ดำเนินรายการ
---๑๗.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. กิจกรรม ปัญจลีลา : การเคลื่อนไหวกายเพื่อการเติบโตทางใจ (ผู้สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงหน้างาน)
---๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ดนตรีสบายยามเย็นจากวง “ของเรา”

๒๑ มิ.ย. ๕๒
---๐๙.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. เปิดร้านหนังสือ
---๑๗.๐๐ - ๑๗.๓๐ น. การแสดงนาฏลักษณ์
---๑๘.๐๐ - ๑๙.๐๐ น. ดนตรีสบายยามเย็นจากวง “สลึง”

การเดินทางไปสวนเงินมีมา

รถไฟฟ้า BTS
: ขึ้นรถไฟฟ้า BTS ไปลงสถานีสะพานตากสินแล้วข้ามเรือไปฝั่งตรงข้าม (ฝั่งคลองสาน) เดินหรือนั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้าง บอกว่า “ไปมูลนิธิตรงข้ามปั๊มเชลล์”

เรือด่วน : ลงท่าเรือสาธร แล้วข้ามฟากไปยังฝั่งตรงข้าม (ฝั่งคลองสาน) เดินหรือนั่งมอเตอร์ไซต์รับจ้างต่อได้เช่นกัน

เดิน : นั่งเรือข้ามฟากมาฝั่งคลองสานแล้วเดินเลียบถนนเจริญนครไปทางซ้ายมือ เดินไปเรื่อยๆ จนเจอปั๊มเชลล์ สวนเงินมีมาอยู่ฝั่งตรงข้ามของถนน ปากทางเข้าเป็นร้านซ่อมรถ
รถประจำทาง : สาย ๖ , ๑๑๑ , ๘๘ , ๘๙
รถส่วนตัวหรือแท็กซี่ : เมื่อลงสะพานตากสิน(สาทร) แล้วเข้าเลนซ้าย เลี้ยวซ้าย ขับมาเรื่อยๆจะเจอสี่แยก เลี้ยวขวาอีกทีเข้าถนนเจริญนคร ขับมาเรื่อยๆ จะเจอปั๊มเชลล์
จอดรถได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ใกล้เจริญนคร ๒๒ เยื้องๆปั๊ม เดินมาอีกนิดเดียวก็จะเจอทางเข้าสวนเงินมีมา

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ขอเชิญร่วมงาน ๑๔๐ ปี ความสัมพันธ์ ไทย-อิตาลี

ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ และ ศุกร์ ที่ ๑๙ มิถุนายน
ดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ร่วมกับ
สถาบัน Institute for Advanced Asian Studies (CESMEO ตูริน)
สถานเอกอัครราชทูตอิตาลี ในประเทศไทย และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโรม
เสนอ
การประชุมวิชาการนานาชาติ
“140 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อิตาลี”
วันที่ 18-19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 10.00-17.00 น.
ณ ห้องประชุมใหญ่ “Auditorium” ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552
10.00 – 10.30 น. ลงทะเบียน พร้อมรับของว่างและเครื่องดื่ม “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
10.30 – 10.35 น. กล่าวต้อนรับโดย คณบดี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.35 – 10.40 น. กล่าวเปิดการประชุมโดย ฯพณฯ ท่านเอกอัครราชทูตอิตาลี ประจำประเทศไทย
10.40 – 10.45 น. กล่าวเปิดการประชุมโดย อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.45 – 10.50 น. กล่าวรายงานโดย ผู้แทนจากสถาบัน Institute for Advanced Asian Studies (CESMEO ตูริน)
10.50 – 10.55 น. กล่าวรายงานการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ 140 ปี ความสัมพันธ์ไทย-อิตาลีโดย หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10.55 – 11.00 น. อาเรีย “Voi lo sapete, o mamma” จากอุปรากร เรื่อง Cavalleria Rusticana
โดย นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.00 – 11.30 น. การแสดงปาฐกถาพิเศษโดย คุณเปาลา โปลิโดริ คีนิ


กลุ่มที่ 1: Scenario of Art สยาม-อิตาลี
11.30 – 12.00 น. รอยอาลัยกับภาพความทรงจำแห่งตะวันออก
การออกแบบฉากมหาอุปรากร “ตูรันดอท” (Turandot) โดย กาลิเลโอ คีนิ
โดย คลาวเดีย เมนีคีนิ
13.30 – 14.00 น. กาลิเลโอ คีนิ – ศิลปินอิตาเลียนในสยาม
ผลงานอันโดดเด่นในอิตาลีหลังประสบการณ์ที่บางกอก
โดย เอลิซาเบธ รียานิ
14.00 – 14.30 น. ศิลปะอิตาเลียนในมิติวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สยาม
โดย ผศ.ดร. หนึ่งฤดี โลหผล

กลุ่มที่ 2: มิติเชิงเปรียบเทียบในภาษาและวรรณกรรมอิตาเลียน
14.30 – 15.00 น. ความสำคัญของภาษาตระกูลลาตินในการแปลศัพท์พระพุทธศาสนา:
กรณีศึกษา “สังเวคะ” (saṃvega)
โดย คลาวดิโย ชิกุซซา
15.00 – 15.30 น. การแปลวรรณกรรมอิตาเลียนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
โดย รศ. ชัตสุณี สินธุสิงห์
15.30 – 15.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.45 – 16.30 น. เสวนาร่วมกับคุณมกุฏ อรฤดี และ รศ. ชัตสุณี สินธุสิงห์
เรื่อง งานวรรณกรรมอิตาเลียนในประเทศไทยกับ “ผีเสื้ออิตาลี”
16.30 น. พิธีเปิดการแสดงศิลปะร่วมสมัย “ฤดูใบไม้ผลิสีขาว” ณ ชั้น 7
งานเลี้ยงรับรอง “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”



วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552
กลุ่มที่ 3: หลากมิติในยุคร่วมสมัย
10.00 – 10.30 น. ฟิวเจอริสม์อิตาเลียนและศิลปะการโฆษณา: กรณีศึกษางานของ “ เดเปโร”
โดย ลูก้า เด มอรี
10.30 – 11.00 น. “หนึ่งฉาก” จากฝีมือประติมากรชาวอิตาเลียนในประเทศไทย
โดย เอมานูเยเล เด เรจจี
11.00 – 12.00 น. เสวนาร่วมกับวิตตอเรีย บียาซิ อัมฤทธิ์ ชูสุวรรณ และคณะ
เรื่อง งานแสดงศิลปะร่วมสมัย “ฤดูใบไม้ผลิสีขาว”

กลุ่มที่ 4: มองวัฒนธรรมผ่านภาพยนตร์อิตาเลียน
13.30 – 14.00 น. บทและประเด็นปัญหาในภาพยนตร์อิตาเลียนร่วมสมัย
โดย สเตฟาโน โตดีนิ
14.00 – 14.30 น. เมื่อเสิร์ฟพาสต้าจานร้อนบนแผ่นฟิล์ม....
โดย อาจารย์ปาจรีย์ ทาชาติ
14.30 – 15.00 น. ความสามัคคีและอัตลักษณ์ความเป็นชาติในยุคแรกของภาพยนตร์อิตาเลียน
โดย เอลิโย เด คาโรลิส
15.00 – 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 น. ปิดการประชุม พร้อมกับการฉายภาพยนตร์เรื่องแรก
ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์อิตาเลียน “La Presa di Roma”

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไปเถิด-เอย-----

ไปเสวนา ประชาพิจารณ์
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองบน บ้านโคกไม้เดน
ณ พิพิธภัณฑ์วัดเขาไม้เดน บ้านโคกไม้เดน
ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ศุกร์ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ เริ่ม ๘.๓๐ น. เป็นต้นไป

สุจิตต์ วงษ์เทศ เล่าเรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เมืองบน บ้านโคกไม้เดน

แบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเป็นเครือญาติ กับ อาจารย์ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ มหาวิทยาลัยศิลปากร
และอาจารย์ รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

พร้อมอาหารว่าง อาหารกลางวัน
วงออเคสตร้า กรมศิลปากร บรรเลง “เพลงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ควบคุมวงโดย อาจารย์สถาพร นิยมทอง
ปี่พาทย์ไม้แข็ง วงผู้ใหญ่ เฉลย ช้างเนียม (บ้านเนินฝอยทอง) ระนาดเอก โดย
นาย เบิ่ง กรมศิลป์ (ชาวพยุหะ) เริ่มตั้งแต่โหมโรงเช้า บรรเลงตลอดวันจนโหมโรงเย็น

ฟรี ไม่ต้องมีบัตร

กำหนดการทำประชาพิจารณ์ เรื่อง เมืองบนบ้านโคกไม้เดน
๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๒ ณ พิพิธภัณฑ์วัดเขาไม้เดน
---------------------
๐๖.๐๐ น. โหมโรงเช้า ปี่พาทย์วงผู้ใหญ่ เฉลย ช้างเนียม (บ้านเนินฝอยทอง) ระนาดเอกโดย นาย เบิ่ง กรมศิลป์ (ชาวพยุหะ) บรรเลงตลอดวัน
๐๘.๓๐ น. ผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ น. ประธานในพิธี( ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ) เดินทางถึงบริเวณพิธี
๐๙.๐๙ น. ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
- นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อยรายงานวัตถุประสงค์ การจัดทำประชาพิจารณ์
- ประธานกล่าวให้โอวาท และกล่าวเปิดการทำประชาพิจารณ์
- นายกเทศมนตรี ฯ คณะผู้บริหารในชุมชนและคณะครู นำชม พิพิธภัณฑ์
๐๙.๓๐ -๑๒.๐๐ น. บรรยาย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองบนบ้านโคกไม้เดนโดย อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ,
อาจารย์ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และ อาจารย์รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล
รับประทานอาหารว่าง และชมดนตรีจากกรมศิลปากร สลับการบรรยาย

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. ประชาชนในท้องถิ่นร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
๑๔.๐๐ น. สรุป และปิดการทำประชาพิจารณ์

หมายเหตุ : กำหนดเวลาในการทำประชาพิจารณ์นี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม